เบริลเลียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
เบริลเลียม (อังกฤษ: Beryllium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Be และเลขอะตอม 4 เป็นธาตุไบวาเลนต์ที่มีพิษ น้ำหนักอะตอม 9.0122 amu จุดหลอมเหลว 1283ํc จุดเดือด (โดยประมาณ) 2970ํc ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 1.85 g/cc ที่ 4ํc เลขออกซิเดชันสามัญ + 2 เบริลเลียมเป็นโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ มีสีเทาเหมือนเหล็ก แข็งแรง น้ำหนักเบา แต่เปราะ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นตัวที่ทำให้โลหะผสมแข็งขึ้น (โดยเฉพาะทองแดงเบริลเลียม) ผู้ค้นพบ ในปี ค.ศ. 1797 Vauquelin ได้พบว่าเบริลเลียมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแร่ beryl ในปี ค.ศ. 1828 Wohler และ Bussy เตรียมธาตุนี้ได้โดยรีดิวส์ BeCl2 ด้วยโลหะ K แต่ Be ที่ได้นั้นเป็นผงทีไม่บริสุทธิ์นัก ในปี ค.ศ. 1899 Lebrau นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสตีพิมพ์ผลงานการเตรียม Be โดยวิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ของโซเดียม เบริลเลียม ฟลูออไรด์ ได้ผลึกเล็ก ๆ ของ Be มีรูปหกเหลี่ยม (hexagonal) นอกจากนี้แล้วเขายังเตรียมโลหะเจือของ Be-Cu ได้ด้วย เบริลเลียมในรูปของสารประกอบมีกระจายทั่วไปในเปลือกโลกของเรา เปลือกโลกของเรามี Be 0.001 %
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เบริลเลียม
|